เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
ว่าด้วยโลก
คำว่า โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร อธิบายว่า โลกนรก โลกในกำเนิดเดรัจฉาน
โลกในเปตวิสัย มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก โลกนี้ โลกหน้า
พรหมโลก เทวโลก นี้ตรัสเรียกว่า โลก
โลกนรกไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่น
สารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน
โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดย
ความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
โลกในกำเนิดเดรัจฉาน... โลกในเปตวิสัย... มนุษยโลก... เทวโลก... ขันธโลก...
ธาตุโลก... อายตนโลก... โลกนี้... โลกหน้า... พรหมโลก... เทวโลก... ไม่มีแก่นสาร คือ
ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ
แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง
โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน
ไปเป็นธรรมดา
โลกในกำเนิดเดรัจฉาน ... โลกในเปตวิสัย ... มนุษยโลก ... เทวโลก ... ขันธโลก
.... ธาตุโลก ... อายตนโลก ... โลกนี้ ... โลกหน้า ... พรหมโลก ... เทวโลก ไม่มีแก่นสาร
คือ ไร้แก่นสาร ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระ
แห่งแก่นสารที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง
โดยความเป็นของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผัน
ไปเป็นธรรมดา
ไม้อ้อไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ไม้ละหุ่ง ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น
ไม้มะเดื่อ... ไม้ทองหลาง... ต้นหงอนไก่... ฟองน้ำ... ต่อมน้ำ... พยับแดด... ต้นกล้วย...
เงา ไม่มีแก่น ไร้แก่น ปราศจากแก่น ฉันใด โลกนรก ไม่มีแก่นสาร คือ ไร้แก่นสาร
ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นสุข
โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็นของยั่งยืน
โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :488 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 15. อัตตทัณฑสุตตนิทเทส
โลกในกำเนิดเดรัจฉาน... โลกในเปตวิสัย... มนุษยโลก... เทวโลก ไม่มีแก่นสาร
คือ ปราศจากแก่นสาร โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นของเที่ยง โดยสาระแห่งแก่นสาร
ที่เป็นสุข โดยสาระแห่งแก่นสารที่เป็นตัวตน โดยความเป็นของเที่ยง โดยความเป็น
ของยั่งยืน โดยความเป็นของมั่นคง หรือโดยความเป็นของไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา
รวมความว่า โลกทั้งหมดไม่มีแก่นสาร

ว่าด้วยสังขารไม่เที่ยง
คำว่า สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว อธิบายว่า สังขารทางทิศตะวันออก
คลอนแคลน หวั่นไหว คือ สะเทือน สะท้าน เพราะเป็นธรรมชาติไม่เที่ยง จึงถูกชาติ
ติดตาม ถูกชราแผ่คลุม ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่
ต้านทาน ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่พึ่ง เป็นสิ่งหาที่พึ่งไม่ได้
สังขารทางทิศตะวันตก... สังขารทางทิศเหนือ... สังขารทางทิศใต้... สังขาร
ทางทิศอาคเนย์... สังขารทางทิศพายัพ... สังขารทางทิศอีสาน... สังขารทางทิศหรดี...
สังขารทางทิศเบื้องต่ำ... สังขารทางทิศเบื้องสูง... สังขารในทั้ง 10 ทิศ ก็คลอนแคลน
หวั่นไหว คือ สะเทือน สะท้าน เพราะเป็นธรรมชาติไม่เที่ยง จึงถูกชาติติดตาม
ถูกชราแผ่คลุม ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตั้งอยู่ในกองทุกข์ ไม่มีที่ต้านทาน
ไม่มีที่ปกป้อง ไม่มีที่พึ่ง เป็นสิ่งหาที่พึ่งไม่ได้ สมจริงดังภาษิตนี้ว่า
ถึงวิมานนี้ สว่างรุ่งเรือง อยู่ในทิศอุดรก็จริง
แต่บัณฑิตก็ยังมองเห็นโทษในรูป แล้วหวั่นไหวทุกเมื่อ
ฉะนั้น ผู้มีปัญญา จึงหายินดีในรูปไม่1
โลกถูกมรณะกำจัด ถูกชราห้อมล้อม ถูกลูกศร
คือตัณหาแทงติด คุเป็นควันเพราะความปรารถนาอยู่ทุกเมื่อ2
โลกทั้งปวงถูกไฟไหม้ ลุกโพลง โชติช่วง หวั่นไหวแล้ว3
รวมความว่า สังขารทั้งหลายทุกทิศก็หวั่นไหว

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/177/178
2 สํ.ส. 15/66/45
3 ขุ.เถรี.(แปล) 26/200/587

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :489 }